อาชีพและตำแหน่งงานต่าง ๆ ในบริษัท Contract Research Organization (CRO)

Different Roles in Clinical Research Organizations

ในองค์กรผู้รับวิจัยทางคลินิกหรือที่เรียกกันว่า Contract Research Organization มีตำแหน่งงานอะไรน่าสนใจให้เลือกเดินบ้าง น้อง ๆ นักศึกษาหรือเพื่อน ๆ สายวิทยาศาสตร์และการแพทย์หลายคนอาจจะเคยนึกตั้งคำถามนี้กันมาก่อน Clinixir เลยขอนำ 5 อาชีพหลักในสายงานด้านนี้มาให้รู้จักกัน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก Clinical Research Associate (CRA)  อาชีพแรกที่ต้องกล่าวถึงก่อนใครก็คือตำแหน่ง Clinical Research Associate (CRA) ซึ่งรับหน้าที่ดูแล ตรวจสอบ และติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกๆส่วนเพื่อให้การวิจัยยาในคนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล การทำงานในตำแหน่งนี้จะได้จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ และประชุมที่ออฟฟิศบ้างสลับกับการเดินทางไปเยี่ยมโรงพยาบาลหลากหลายแห่งซึ่งเป็นสถานที่วิจัยทางคลินิก (Site) เพื่อตรวจสอบและติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยนั่นเอง คนที่เหมาะสมกับการเป็น CRA นั้นต้องเข้าใจในกระบวนการพัฒนายารักษาและเวชภัณฑ์เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังต้องมีทักษะด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาอังกฤษทั้งฟังพูดอ่านเขียนอีกด้วย ถ้าใครอยากอ่านเกี่ยวกับตำแหน่งนี้แบบละเอียด คลิกที่บทความนี้เลย  นักชีวสถิติ Biostatistician นักชีวสถิติหรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Biostatistician เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญในสายงานการวิจัยทางคลินิกตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของกระบวนการพัฒนายา โดยมีหน้าที่ร่วมออกแบบวัตถุประสงค์และระเบียบวิธีการวิจัย รวมถึงกำหนดตัวชี้วัด (Endpoints) เพื่อประเมินผลการทดลองทางคลินิก เช่น การใช้อัตราผู้รอดชีวิตเป็น Endpoints ของยารักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น  […]

5 ข้อที่คุณต้องรู้ก่อนทำงานในอาชีพผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก (CRA)

5 things you need to know before starting a career in clinical research

อาชีพในอุตสาหกรรมยาที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดและได้รับความสนใจอย่างมากทั่วโลก คือ ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก (CRA) นั่นเอง วันนี้ Clinixir รวบรวมสิ่งที่ควรรู้ 5 ข้อเกี่ยวกับตำแหน่งนี้มาให้ทุกคนแล้ว จะมีอะไรบ้าง หาคำตอบได้ด้านล่างเลย 1. อาชีพผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก หรือ Clinical Research Associate (CRA) คืออะไร ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก (CRA) มีบทบาทสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมยา โดยรับหน้าที่ควบคุมดูแล ตรวจสอบ และติดต่อประสานงานให้การพัฒนาและวิจัยยาในคน หรือการวิจัยทางคลินิก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่วนใหญ่แล้วตำแหน่ง CRA จะเป็นพนักงานในบริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่ เช่น Johnson & Johnson หรือ Pfizer แต่ก็ยังสามารถขยับออกมาจากการทำงานให้องค์กรเดียว สู่การเป็น CRA ในบริษัทผู้รับวิจัยทางคลินิก หรือ Contract Research Organization (CRO) ที่จะได้เป็นฝ่ายช่วยทดลองเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ในคนให้กับบริษัทผู้ผลิตยาหลายแห่งจากทั่วโลกนั่นเอง 2. ความรับผิดชอบและเนื้องานในแต่ละวันของ CRA เป็นอย่างไร หนึ่งในจุดเด่นของอาชีพผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก คือ […]

ข้อดีข้อเสียของงานวิจัยทางคลินิก 5 ประเภท ที่คนทำงานในอุตสาหกรรมยาควรรู้

ก่อนที่ผลิตภัณฑ์ยาใด ๆ จะได้รับการอนุมัติให้ออกสู่ท้องตลาดและนำมาใช้รักษาผู้ป่วยตามโรงพยาบาลได้จริง ๆ นั้นต้องผ่านกระบวนการทดลองและตรวจสอบที่รัดกุมมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนสำคัญลำดับแรกอย่าง การออกแบบงานวิจัยทางคลินิก (Clinical Trial Designs) ซึ่งเปรียบเสมือนต้นน้ำที่หากเกิดความผิดพลาดขึ้นก็ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพทั้งหมดของตัวยาได้  บทความจาก คลินิเซอร์ วันนี้จะมาเล่าให้เพื่อน ๆ ในแวดวง Contract Research Organization (CRO) รวมถึงน้อง ๆ นักศึกษาสายเภสัชศาสตร์และสายแพทย์ฟังว่าการออกแบบงานวิจัยทางคลินิกคืออะไร และแต่ละประเภทนั้นมีจุดเด่นหรือจุดด้อยตรงไหนบ้าง ตามไปหาคำตอบกันได้เลย  การออกแบบงานวิจัยทางคลินิก หรือ Clinical Trial Designs คืออะไร   การออกแบบงานวิจัยทางคลินิกเป็นขั้นตอนแรก ๆ ของกระบวนการพัฒนาและคิดค้นยารักษาผู้ป่วย โดยจะทำการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาว่าถูกต้องจริงหรือไม่ รวมถึงไขข้อสงสัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย เช่น ยาตัวนี้มีประสิทธิภาพมากน้อยขนาดไหน หรือศึกษาว่ากลุ่มผู้ป่วยเพศหญิงได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่ากลุ่มผู้ป่วยเพศชายหรือไม่ เป็นต้น  ผลิตภัณฑ์ยาที่ดี มีคุณภาพ และประสบความสำเร็จทั่วโลกนั้นล้วนแล้วแต่ต้องผ่านขั้นตอนการวิจัยทางคลินิกที่ออกแบบมาอย่างรอบคอบทั้งสิ้น ซึ่งก็มีด้วยกันทั้งหมด 5 วิธีหลักพร้อมข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันดังต่อไปนี้    1. การสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ (Randomized Controlled Trial: RCT)   […]

5 เหตุผลสำคัญ ทำไมคุณถึงควรทำงานในบริษัท Clinical Research หรือผู้รับวิจัยทางคลินิก

บริษัทผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ โรงพยาบาล หรือหน่วยงานรัฐราชการ เป็นเส้นทางอาชีพที่ผู้จบการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ มักจะเลือกเดินหลังก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัย แต่จริง ๆ แล้วยังมีอีกหนึ่งธุรกิจในอุตสาหกรรมการแพทย์ที่น่าสนใจไม่แพ้กันเลย  นั่นก็คือ Contract Research Organization (CRO) หรือผู้ให้บริการวิจัยทางคลินิก สายงานนี้คืออะไร มีอนาคตความก้าวหน้าและโอกาสการเติบโตในอาชีพมากขนาดไหน จะมีจุดเด่นที่แตกต่างจากการทำงานในธุรกิจอื่น ๆ ข้างต้นอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ Contract Research Organization คืออะไร  สำหรับน้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยม นักศึกษา หรือใครที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับผู้เล่นคนสำคัญในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมการแพทย์ Contract Research Organization (CRO) คือ องค์กรที่ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานภาครัฐให้ดำเนินการค้นคว้าวิจัยหรือทดสอบตัวยาและวัคซีนประเภทต่าง ๆ ตามสัญญา หลังจากที่องค์กรผู้ผลิตยาสามารถพัฒนาวิธีการรักษาโรคนั้น ๆ ได้จนเป็นที่น่าพอใจ แล้วต้องการทดสอบทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาชนิดนั้น ๆ ก็มักจะจ้างวานให้ Contract Research Organization ช่วยจัดการวิจัยและทดลองตัวยาในคน เพื่อให้บริษัทสามารถวางจำหน่ายและนำผลิตภัณฑ์ไปใช้รักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบและจรรยาบรรณวิชาชีพ Contract Research Organization มีทั้งความเชี่ยวชาญและทรัพยากรต่าง ๆ อย่างพร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือการวิจัยและบุคลากรมากประสบการณ์ […]

ปลดล็อกงานวิจัย ‘จากหิ้งสู่ห้าง’ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันประเทศ

ต่อยอดงานวิจัย “จากหิ้งสู่ห้าง” พลิกโฉมประเทศไทยให้สามารถผลิตสินค้ามูลค่าสูงด้วยนวัตกรรม นำพาประเทศก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง ‘งานวิจัยขึ้นหิ้ง’ คำกล่าวที่มักใช้ปรามาสผลงานวิจัยพื้นฐานว่าไม่สามารถนำมาต่อยอดให้ใช้จริงได้ ทว่าปัญหาที่แท้จริงใช่ว่างานวิจัยไทยไร้ ศักยภาพ แต่ส่วนหนึ่งมาจากการขาดการต่อยอดงานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการสู่การทดลองผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความ มั่นใจในการลงทุนให้แก่ภาคเอกชน รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า คนมอง ว่า งานวิจัยไทยอยู่บนหิ้ง เพราะว่าส่วนใหญ่ให้ทุนวิจัยลักษณะนั้นเป็นแบบเดิม ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติ รัฐบาลทั่วโลกต่างให้ทุนมหาวิทยาลัยทำ วิจัยในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือภาคเอกชนในแต่ละประเทศมีความพร้อมหรือกล้าเผชิญความเสี่ยงในการรับ ถ่ายทอด เทคโนโลยีใน ระดับที่ต่างกัน “ในการทำงานวิจัยหรือพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ จะมีขั้นตอนหรือระดับความพร้อมของเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรม (Technology Readiness Levels : TRL) ที่แตกต่างกันแบ่งออกได้เป็น 9 ระดับ ถ้าเป็นประเทศในโลกตะวันตก เช่น อเมริกา ยุโรป ภาคเอกชนจะกล้าเสี่ยงลงมารับถ่าย ทอดเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับ TRL3 ซึ่งเป็นผลงานวิจัยอยู่ในระดับพร้อมประยุกต์ใช้ แต่ยังไม่มีการทดลองขยายขนาดการผลิตในระดับ อุตสาหกรรม ซึ่งเขาพร้อมที่จะไปทดลองต่อเอง ขณะที่ซีกโลกตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน วัฒนธรรมไม่เหมือนกัน ภาคเอกชนไม่กล้าลงมารับถ่ายทอดเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับต้นๆ […]